Digital Signageกับสื่อโฆษณาในยุคดิจิตอล

ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนช่วยเพิ่มลูกเล่นและความสะดวกสบายใน การจัดการกับเนื้อหานั้นๆให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น และเป็น trend ใหม่ของสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ เพื่อแทนป้ายประชาสัมพันธ์แบบเดิมๆซึ่งได้ถูกแทนที่ด้วยระบบป้ายดิจิตอล จอประเภท LCD อย่างที่เรียกกันว่า Digital Signageที่เป็นแบบภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่ง โดยหลักสำคัญของการใช้ Digital Signage คือ ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลข่าวสารให้เหมาะสมกับแผนทางการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายได้โดยง่าย โดยจะควบคุมระบบผ่านทางเครือข่าย LAN เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความ ภาพและ ภาพเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามความต้องการด้วยโปรแกรมซึ่ง Digital Signage มีความสำคัญด้วยกันดังนี้
1.Digital Signage สามารถประหยัดต้นทุนและเวลาในการจัดพิมพ์และเปลี่ยนแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ถ้าจำเป็นที่จะต้องทำการแก้ไขบ่อยครั้ง
2.ดึงดูดความน่าสนใจแก่ลูกค้าที่ผ่านไปมาให้แวะเข้าชมสินค้าหรือสินค้า ราคาพิเศษ เพื่อให้ ข้อมูลในการสร้างการตัดสินใจซื้อเร็วยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการประชาสัมพันธ์ รูปแบบอื่น
3.การจัดการ แบบรวมศูนย์ไม่ต้องเดินทาง ไปยังตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์สามารถ ควบคุม และกำหนด การแสดงผลล่วงหน้าได้ อย่างง่ายดาย
ในส่วนของประโยชน์ที่จะได้รับจาก Digital Signage คือ
1.ช่วยให้การส่งข่าวสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.เป็นตัวแสดงสื่อโฆษณาที่มีพลังสูงสุดในยุคนี้
3.เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Technology และความใส่ใจในการให้ข้อมูลและบริการ Digital signage สามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบวิดีโอ ภาพนิ่ง และตัวอักษรวิ่งได้ในเวลาเดียวกัน
4.การใช้สื่อโฆษณาระบบ Digital Signage นี้ ไม่ต้องเสียเวลา เสียเงินอย่างซ้ำซ้อนอีกในการสร้างสื่อ
5.ช่วยลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์ต่างๆด้วย

จากคุณสมบัติของจอ LED ที่สามารถนำเสนอโฆษณาได้ในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง และสามารถเปลี่ยนโฆษณาได้เรื่อยๆ อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านระบบภาพและเสียงที่มีความคมชัดเสมือนจริงยิ่งขึ้น กินไฟน้อยลงและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ราคาถูกลง ผู้ให้บริการติดตั้งสื่อโฆษณาจึงนิยมนำเสนอการโฆษณาในรูปแบบจอ LED สำหรับผู้ผลิตสินค้าและบริการ เนื่องจากเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่ากว่าการโฆษณา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลกันทาง line ในปัจจุบันนี้

1

จากที่มีการส่งต่อข้อความเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลกันทาง line ในขณะนี้ ทีมงานไอที24ชั่วโมง เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงได้ทำการตรวจสอบข้อมูลและสอบถามไปยังผู้เชี่ยวชาญในชุดทำงานของ กสท. ของสำนักงาน กสทช. เพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น และได้ข้อมูลโดยสรุปดังนี้ ทีวีดิจิตอล สามารถใช้เสาอากาศแบบเดิมที่ใช้กับ 3,5,7,9,11,NBT,TPBS เหมือนในปัจจุบันได้ถ้าหากเสาก้างปลาหรือหนวดกุ้งเดิมนั้นๆสามารถรองรับสัญญาณย่านความถี่ UHF ได้ เสาอากาศ สำหรับทีวีดิจิตอล สามารถใช้แบบ ในบ้าน หรือ นอกบ้านก็ได้ แต่ การรับสัญญาณภายในบ้าน อาจกระทำได้ถ้ารับในเขตตัวเมือง (โดยทั่วไปคือในเขตเทศบาลเมืองขึ้นไป) โดยแนะนำให้รับในห้องที่เป็นห้องเปิด คือมีหน้าต่างหรือประตู โดยเสาอากาศภายในควรเป็นแบบมี booster ขยายสัญญาณ หรือที่เรียกว่าเป็นแบบ active antenna ซึ่งจะรับการจ่ายไฟกระแสตรง 5V มาจากตัว Set-Top Box ซึ่งการติดตั้งเสาอากาศใกล้ๆกับหน้าต่างก็อาจจะช่วยการรับสัญญาณได้ดีขึ้น

ทีวีดิจิตอลที่ไทยใช้ ส่งระบบ DVB-T2 ซึ่งเป็นระบบ Mpeg4 ทีวีทุกระบบรับได้ โดยใช้กล่องรับสัญญาณระบบ DVB-T2  หากทีวีของท่านมีช่อง HDMI ภาพที่ออกมาจะก็จะชัดกว่าการเสียบสาย AV เป็นอย่างมาก (ระบบส่งสัญญาณโทรทัศน์ DVB-T2 กับมาตรฐานทางเลือกในการบีบอัดสัญญาณภาพหรือเสียงในแบบ MPEG2 หรือ MPEG4 เป็นคนละอย่างกัน แต่โดยทั่วไปการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในระบบ DVB-T2 ทั่วโลกในปัจจุบัน มักจะเลือกใช้มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพแบบ MPEG-4/H.264 AVC และมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณเสียงแบบ MPEG-4/HE AACv2  ซึ่งแพร่หลายและให้ประสิทธิภาพสูงกว่า MPEG-2 มาก ซึ่งในไทยก็เลือกใช้มาตรฐานทางเลือกนี้เช่นกัน)

ทีวีระบบเก่าของไทย ไม่รองรับระบบดิจิตอล จึงต้องมีกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 เช่นเดียวกับกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ก่อนที่จะต่อเข้าทีวีอีกที แต่ปัจจุบันโทรทัศน์รุ่นใหม่ๆที่จำหน่ายในท้องตลาดมีหลายรุ่นที่รองรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอล มีจูนเนอร์โทรทัศน์ดิจิตอลในตัวหรือที่เรียกว่า iDTV – Integrated Digital TV หรือภาษาชาวบ้านง่ายๆคือเอาฟังก์ชั่น Set-Top Box มาฝังในเครื่องทีวีเลย ปัจจุบันมี iDTV กว่า 66 รุ่นที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเทคนิคโดยกสทช. ซึ่งสามารถดู list ได้ที่ http://broadcast.nbtc.go.th/tools/idtv และในการเลือกซื้อจะแนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของ กสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวีของกสทช. เหมือนกับการเลือกซื้อ Set-Top Box เช่นกัน